รวม link ที่น่าสนใจ

Pongpanot Chuaysakun
1 min readMay 9, 2018

--

https://korn4d.com/2017/02/01/acceptance-criteria-คืออะไร/

ปัญหาการใช้ Acceptance Criteria จากประสบการณ์ เคยเจอบางทีมที่ยึดติดกับนิสัยเดิม ที่มอง documentation ว่าเป็น contract ก็เลยพยายาม negotiate contract ซึ่งขัดกับ agile manifesto แบบเต็มๆ เรามักจะได้ยินว่า เรื่องนี้ไม่อยู่ใน Acceptance Criteria ไม่ถึอว่า เป็น bug หรือ ถ้าจะเพิ่มเรื่องนี้ ต้องทำเป็น user story ให้เข้าสปรินต์หน้า อย่างนี้ไม่ถูกต้อง เพราะ ไม่มีใครสามารถเขียน Acceptance Criteria ให้ไม่มีช่องโหว่ได้ การพยายามทำอย่างนั้น มีแต่ทำให้เกิด comprehensive documentation ซึ่งไม่เป็นการดี ที่สำคัญการบอกว่า ไม่อยู่ใน Acceptance Criteria แล้วไม่ยอมแก้ นั้น เป็นการสร้างความบาดหมางขึ้นระหว่าง PO และทีมเป็นอย่างมาก สิ่งสำคัญในการทำงานแบบอไจล์คือการร่วมไม้ร่วมมือกันระหว่าง ฝ่ายธุรกิจและฝ่ายพัฒนา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากกว่า การหาคนผิดมาลงโทษเป็นไหนๆ การอ้างว่า ไม่อยู่ใน Acceptance Criteria เหมือนเป็นการรื้อฟื้นปัญหาของรูปแบบการทำงานแบบดั้งเดิม มาอยู่ในกรทำงานแบบอไจล์ ซึ่งกลายเป็นไม่ได้ประโยชน์จากการทำงานแบบใหม่นี้เลย สิ่งสำคัญคือ เราควรใช้งาน Acceptance Criteria อย่างที่มันควรเป็น คือเป็น บันทึกกันลืม เท่านั้น ซึ่งถ้าไม่ได้บันทึกไว้ แล้วขาดไปทำให้ user story ไม่สมบูรณ์ เราก็เรียนรู้และปรับปรุง บางเรื่องไม่คอขาดบาดตายก็คุยกันเป็น user story ต่างหาก บางเรื่อง ทำให้ คุณค่าของ user story หายไป ก็ยอมไม่ได้ ก็แก้ไข ซึ่งถ้าไม่ทันสปรินต์ ก็ไปทำสปรินต์หน้าเท่านั้น ไม่น่าจะหนักหนาอะไร สิ่งสำคัญคือเราไม่ควรเอาเรื่องนี้ไปเป็น KPI ของใครทั้งนั้น เพราะเป็นการช่วยกันทำงานของทุกคน ถ้าจะผิดพลาดตรงไหน ก็แก้ไขกันไป เน้นที่การเรียนรู้ว่า ทำไมเราพลาดไป และจะป้องกันมันอย่างไรในโอกาสหน้า อไจล์เป็นเรื่องของการเรียนรู้และพัฒนา ไม่ใช่การสอบไล่ ที่มีสอบได้สอบตกไปหมด

--

--

No responses yet